ก า ร พั ฒ น า อ า จ า ร ย์

 

กระบวนการติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะไปใช้

            การติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดโครงการพัฒนาอาจารย์ และใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินโครงการพัฒนาอาจารย์ในครั้งต่อไป รวมทั้ง ได้ทราบแนวทางการนำความรู้และทักษะที่อาจารย์ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ไปใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์
            เพื่อทราบแนวทางและผลการนำความรู้และทักษะที่อาจารย์ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร และผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการฯ

 

ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ฯ
            กระบวนการติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ฯ กำหนดระยะเวลาในการติดตามและประเมินผล มี 2 ระยะ ดังนี้

 

 

 

            หลังจากดำเนินการจัดแต่ละโครงการฯ เสร็จสิ้นแล้ว จะเริ่มต้นดำเนินการตามขั้นตอนการติดตามและประเมินผลฯ ดังนี้
            1. สำรวจความพึงพอใจและแนวโน้มการนำความรู้และทักษะไปใช้ฯ โดยสำรวจข้อมูลดังกล่าว จากแบบประเมินผลการจัดโครงการฯ หลังเสร็จสิ้นโครงการฯ (ระยะที่ 1)
            2. คัดเลือกโครงการฯ เพื่อติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ฯ โดยพิจารณา ตามข้อกำหนด ดังนี้
            • วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อให้อาจารย์สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรได้
            • ผลการดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการดำเนินงานที่กำหนดไว้ (ประเมินผลจากแบบประเมินผลการจัดโครงการฯ)
            • ร้อยละของอาจารย์ที่สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้ฯ ได้ ร้อยละ 80 (จากแบบประเมินผลการจัดโครงการฯ - ระยะที่ 1)
            • ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ ร้อยละ 80 (จากแบบประเมินผลการจัดโครงการ)
            3. สรุปเนื้อหาการบรรยายของวิทยากร เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบภาพ Infographic (ถ้ามี)
            4. จัดทำแบบสำรวจการติดตามและประเมินผลฯ (ปัจจุบันใช้รูปแบบออนไลน์ ผ่าน Google Form) เพื่อติดตามการนำความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย คำชี้แจง ภาพ Infographic ข้อคำถามต่าง ๆ เป็นต้น โดยสร้างแบบสำรวจฯ และลักษณะคำถาม มีดังนี้
            • ลักษณะคำถามควรเป็นคำถามที่อ่านเข้าใจและตอบได้ง่ายชัดเจน สามารถจุดประเด็น ให้อาจารย์สามารถตอบได้ทันที เป็นคำถามไม่สั้นและยาวเกินไป ไม่ทำให้เกิดความสับสน โดยใช้คำถามที่มีช่องกาเครื่องหมาย √ หรือ X มากกว่าคำถามที่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือคำถามที่เจาะลึกจนเกินไป หรือกำกวม จนทำให้ไม่สามารถตอบได้
            • การส่งแบบสำรวจฯ แบบออนไลน์ กำหนดให้มีช่องใส่ e-mail ของอาจารย์ เพื่อสามารถระบุตัวตนของอาจารย์ และตรวจสอบได้ว่า อาจารย์ท่านใดยังไม่ได้ส่งแบบสำรวจฯ บ้าง
            • กรณีที่ส่งเป็นเอกสาร ควรระบุหมายเลข 1, 2, 3, ...... ตามลำดับ บริเวณมุมขวาบน หรือมุมขวาล่าง ในหน้าแรกของแบบสำรวจฯ โดยกำหนดให้หมายเลขดังกล่าวสัมพันธ์กับรายชื่ออาจารย์ตามลำดับ 1, 2, 3, ...... เป็นต้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่า อาจารย์ท่านใดยังไม่ได้ส่งแบบสำรวจฯ บ้าง
            5. เสนอแบบสำรวจฯ ให้ผู้บริหารพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งแบบสำรวจฯ
            6. เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนแล้ว (นับจากสิ้นสุดโครงการฯ แล้ว) จะดำเนินการติดตามและประเมินผลฯ (ระยะที่ 2) โดยจัดส่งแบบสำรวจฯ พร้อมแนบภาพ Infographic เนื้อหาการบรรยาย ของวิทยากร (ถ้ามี) ผ่านหนังสือบันทึกข้อความ (scan QR Code) และ e-mail ให้แก่อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว โดยให้ระยะเวลาในการกรอบแบบสำรวจฯ และแสดงความคิดเห็น ประมาณ 30 วัน
            7. รวบรวมและติดตามแบบสำรวจฯ ที่ได้รับเป็นไปตามเป้าหมายเกินกว่าร้อยละ 30 ของแบบสำรวจฯ ทั้งหมด
            8. กรณีได้รับแบบสำรวจฯ ไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะจัดส่งแบบสำรวจฯ ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามอาจารย์ที่ยังไม่ได้ส่งคืนแบบสำรวจฯ ผ่านทาง e-mail ของอาจารย์ มีระยะเวลาการติดตาม ประมาณ 10 วัน
            9. วิเคราะห์และประเมินผลสำรวจการติดตามและประเมินผลฯ
            10. จัดทำรายงานติดตามและประเมินผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ฯ
            11. เสนอผู้บริหารพิจารณารายงานฯ และให้ความเห็นชอบ
            12. นำผลสำรวจการติดตามและประเมินผลฯ ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดโครงการฯ ต่อไป